...

...
..

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ASEAN

asean_564
asean flags2
"One  Vision, One Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

800px-flag_of_asean_svg


asean_2510
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้

อุทยาน ร.2




อุทยานนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปะอันงดงามไว้ เป็นมรดกแก่ชาติและได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดป้ายอุทยานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2522 และเปิดให้ประชาชนเข้าชมภายในอุทยานได้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
- ส่วนที่หนึ่ง
ลานจอดรถหน้าอุทยาน ปัจจุบันมีที่ขายสินค้าพื้นเมืองและผลไม้ และอาศรมศึกษาซึ่งเป็นเรือนไทยโบราณ
- ส่วนที่สอง
เป็นโรงละครกลางแจ้ง มีเนินลดหลั่นสำหรับชมการแสดง และปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ
- ส่วนที่สาม
อาคารทรงไทย 5 หลัง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 4 หลัง และอาคารซ้อมโขน ละครและเก็บเครื่องดนตรีไทย 1หลัง
- ส่วนที่สี่
สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ มีหุ่นจำลองเรื่องในวรรณคดี สังข์ทอง ไกรทอง
- ส่วนที่ห้า
พื้นที่ติดแม่น้ำ มีศาลาเอนกประสงค์สำหรับนั่งพักผ่อน มีร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าพื้นเมือง มีเรือประพาสอุทยาน ประชาชนขึ้นชมได้
- ส่วนที่หก
พื้นที่ประมาณ 11 ไร่ ซึ่งจะดำเนินการจัดทำสวนและทำสวนเกษตรตามพระราชดำริในองค์ประธาน
พิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็นอาคารทรงไทย จำนวน 4 หลัง พื้นที่รวม 600 ตารางเมตร จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้
หอกลาง
ภายในประดิษฐ์พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และจัดศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เครื่องเบญจงรค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่
ห้องชาย
ทางปีกขวา จัดตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ห้องหญิง
ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น
ชานเรือน
จัดตามแบบไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ อ่างบัว
ห้องครัวและห้องน้ำ
จัดไว้ที่ชั้นล่างอาคารปีกซ้าย แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของคนชั้นกลาง มีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชาม สำหรับอาหาร เป็นต้น
ตำแหน่งศิลาฤกษ์
แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี

อุทยานฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 08.30 - 17.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30 - 17.30 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 5 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 034-751666 โทรสาร 034-751376