...

...
..

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ASEAN

asean_564
asean flags2
"One  Vision, One Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 

800px-flag_of_asean_svg


asean_2510
กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้

อุทยาน ร.2




อุทยานนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปะอันงดงามไว้ เป็นมรดกแก่ชาติและได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดป้ายอุทยานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2522 และเปิดให้ประชาชนเข้าชมภายในอุทยานได้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530
อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
- ส่วนที่หนึ่ง
ลานจอดรถหน้าอุทยาน ปัจจุบันมีที่ขายสินค้าพื้นเมืองและผลไม้ และอาศรมศึกษาซึ่งเป็นเรือนไทยโบราณ
- ส่วนที่สอง
เป็นโรงละครกลางแจ้ง มีเนินลดหลั่นสำหรับชมการแสดง และปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ
- ส่วนที่สาม
อาคารทรงไทย 5 หลัง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 4 หลัง และอาคารซ้อมโขน ละครและเก็บเครื่องดนตรีไทย 1หลัง
- ส่วนที่สี่
สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ มีหุ่นจำลองเรื่องในวรรณคดี สังข์ทอง ไกรทอง
- ส่วนที่ห้า
พื้นที่ติดแม่น้ำ มีศาลาเอนกประสงค์สำหรับนั่งพักผ่อน มีร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าพื้นเมือง มีเรือประพาสอุทยาน ประชาชนขึ้นชมได้
- ส่วนที่หก
พื้นที่ประมาณ 11 ไร่ ซึ่งจะดำเนินการจัดทำสวนและทำสวนเกษตรตามพระราชดำริในองค์ประธาน
พิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็นอาคารทรงไทย จำนวน 4 หลัง พื้นที่รวม 600 ตารางเมตร จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้
หอกลาง
ภายในประดิษฐ์พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และจัดศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เครื่องเบญจงรค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่
ห้องชาย
ทางปีกขวา จัดตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ห้องหญิง
ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น
ชานเรือน
จัดตามแบบไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ อ่างบัว
ห้องครัวและห้องน้ำ
จัดไว้ที่ชั้นล่างอาคารปีกซ้าย แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของคนชั้นกลาง มีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชาม สำหรับอาหาร เป็นต้น
ตำแหน่งศิลาฤกษ์
แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี

อุทยานฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 08.30 - 17.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30 - 17.30 น. ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 5 บาท สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 034-751666 โทรสาร 034-751376

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยี 4G ( Forth Generation )


เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
ลักษณะเด่นของ 4G
4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ดิจิตอลคอนเทนต์ เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง? น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่? เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ?
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้
ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น interim 4G หรือ 4G เฉพาะกิจ เพื่อไปเร่งพัฒนา 4G ตัวจริง (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์? เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า? สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ

ประวัติ


ชื่อ ด.ช. คุณภัทธ     โภคากร


ชื่อเล่น    เบ๊บ


อยู่ที่โรงเรียนถาวรานุกูล


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ห้อง 2 


งานอดิเรก   เล่นเกม  อ่านหนังสือ